การเรียนการสอน ของ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

หลักสูตร

คณะสถิติประยุกต์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เปิดให้มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก[4] ดังนี้

ระดับปริญญาโท(ภาคปกติและภาคพิเศษ)ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

งานบริการนักศึกษา ภาคพิเศษ

การรับบุคคลเข้าศึกษา

คณะสถิติประยุกต์ มีการเปิดรับบุคคลเข้าทำการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ของคณะดังต่อไปนี้ [5]

สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาโททุกสาขาวิชาเอก ภาคปกติ มีการพิจารณารับนักศึกษา ปีการศึกษาละ 6 ครั้ง ซึ่งแบ่งเป็นภาคการศึกษาละ 3 ครั้ง โดยภาคการศึกษาที่ 1 เปิดรับสมัครในเดือนตุลาคม เดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ภาคการศึกษาที่ 2 เปิดรับสมัครในเดือนเมษายน – พฤษภาคม เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม และเดือนสิงหาคม

สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาโททุกสาขาวิชาเอก ภาคพิเศษมีการพิจารณารับนักศึกษาปีการศึกษาละ 2 ครั้ง ซึ่งแบ่งเป็นภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง โดยภาคการศึกษาที่ 1 เปิดรับสมัครประมาณเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ซึ่งจะเรียนในวันจันทร์ – ศุกร์ นอกเวลาราชการ และภาคการศึกษาที่ 2 เปิดรับสมัครประมาณเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม จะเรียนในวันเสาร์ - อาทิตย์

หลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาสถิติ หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์มีการพิจารณารับนักศึกษาปีการศึกษาละ 2 ครั้ง

ระบบการศึกษา

ระบบการศึกษาของคณะสถิติประยุกต์ปีการศึกษาหนึ่งมี 2 ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาที่ 1 จะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนตุลาคม และภาคการศึกษาที่ 2 เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 16 สัปดาห์ สำหรับการศึกษาภาคฤดูร้อน อาจมีได้สำหรับวิชาเสริมพื้นฐาน มีระยะเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นการศึกษาแบบหน่วยกิต

รายวิชาหนึ่งกำหนดเนื้อหา มากน้อยตามจำนวนหน่วยกิต (Credit) 1 หน่วยกิต หมายถึงการบรรยาย 1 ชั่วโมง หรือการปฏิบัติทดลองไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง หรือการฝึกงานไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ต่อภาคการศึกษาปกติ[6]

การประกันคุณภาพการศึกษา

คณะสถิติประยุกต์ ได้พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยอิงแนวคิดของหน่วยงานที่พิจารณางบประมาณ สนับสนุนแก่สถาบันอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษ และสอดคล้องกับประเด็นการพิจารณาของมหาวิทยาลัยในประเทศ แคนาดา และออสเตรเลีย ในระบบประกันคุณภาพการศึกษาของคณะได้พิจารณา 5 ประเด็นหลัก คือ

  1. หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร
  2. ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอนและการวิจัย
  3. การสนับสนุนและให้คำแนะนำนักศึกษา
  4. คุณภาพและการเพิ่มคุณภาพการศึกษา
  5. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและความสำเร็จของผู้สำเร็จการศึกษา

โดยในแต่ละประเด็นได้สร้างตัวชี้วัดและจัดระบบสารสนเทศของคณะ, ระบบสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และตามระบบการตรวจสอบของหน่วยงานภายนอก ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐ[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ http://maps.google.com/maps?ll=13.877007,100.59278... http://as.nida.ac.th/ http://as.nida.ac.th/Admin/th_faculty.html http://as.nida.ac.th/Admin/th_staff.html http://as.nida.ac.th/event/09jun27alumni_ora_night... http://as.nida.ac.th/event/52jun15_seminar_msr.htm http://as.nida.ac.th/research/th_book.html http://as.nida.ac.th/research/th_research_publish.... http://as.nida.ac.th/research/th_research_services... http://as.nida.ac.th/research/th_thesis.html